วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานผลการใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะและพลังงานแสง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล


บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง        รายงานผลการใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล
ผู้ศึกษา         ประชารักษ์   ศรีบรรเทา
ปีการศึกษา     2555

          การรายงานครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา  1) เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดสื่อประสม  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยเทียบเกณฑ์  80/80  2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้  ชุดสื่อประสม  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4  โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และ  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรรมการเรียนรู้  โดยใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่องระบบสุริยะและพลังงานแสง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่  4/1  ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์  เขต  3  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2555  จำนวน  36  คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้  ได้แก่  1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่องระบบสุริยะและพลังงานแสง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  2) ชุดสื่อประสมที่ประกอบด้วยเอกสาร ประกอบการเรียน  และชุดเกมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  จำนวน  11  ชุด  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องระบบสุริยะและพลังงานแสง  เป็นแบบเลือกตอบชนิด  4  ตัวเลือก  จำนวน  40  ข้อ  4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  18  ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test  แบบ  dependent)   
             ผลการศึกษาปรากฏ  ดังนี้
             1.  กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ  85.35/82.50   ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
                 2.  กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  มีค่าดัชนีประสิทธิผล  เท่ากับ  0.7495 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ  74.95
               3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ภายหลังการใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่องระบบสุริยะและพลังงานแสง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
               4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่องระบบสุริยะและพลังงานแสง  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  อยู่ในระดับมาก 

16 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากค่ะ เป็นแนวทางในการนำไปใช้ได้ดี

    ตอบลบ
  2. อืม...ทำดีแล้วค่ะเพื่อน ทำต่อไปนะคะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ4 ธันวาคม 2555 เวลา 19:28

    มีประโยชน์ แปลกใหม่ น่าสนใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  4. ครูบรรจุใหม่4 ธันวาคม 2555 เวลา 19:31

    น่าสนใจดีครับ...ผมขอแนวทางนำไปใช้บ้าง

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ10 ธันวาคม 2555 เวลา 11:57

    น่าสนใจดีค่ะ สื่อประสม

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม 2555 เวลา 09:21

    เป็นตัวอย่างนวัตกรรมที่ดีค่ะ น่าสนใจ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ19 ธันวาคม 2555 เวลา 08:47

    เป็นงานวิจัยที่ดีมากครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2555 เวลา 13:33

    น่าสนใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  9. สื่อน่าสนใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ2 มกราคม 2556 เวลา 00:17

    สื่อน่าสนใจมากค่ะ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ17 มกราคม 2556 เวลา 15:59

    น่าสนใจครับ

    ตอบลบ
  12. ขออนุญาตินำงานวิจัยไปอ้างอิงนะคะ

    ตอบลบ
  13. นวัตกรรมแปลกดีครับ..ไม่เหมือนใครดี..ใช้อ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ26 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:59

    น่าสนใจค่ะ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2556 เวลา 11:30

    ไม่ค่อยซ้ำกะใครดีค่ะ

    ตอบลบ
  16. ขออนุญาตินำงานวิจัยไปอ้างอิงนะคะ

    ตอบลบ