วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง              รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้ที่  1  
                         กระบวนการดำรงชีวิตของพืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 
ผู้ศึกษา              นายมนัส   เพ็งหมู
ตำแหน่ง             ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการ 
สถานที่ทำงาน    โรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล อำเภอบึงสามพัน  จังหวัดเพชรบูรณ์
ปีการศึกษา         2560
..............................................................................................................................................
              รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้ที่  1  กระบวนการดำรงชีวิตของพืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  มีวัตถุประสงค์ 
                          1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ 80/80  
                          2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  กระบวนการดำรงชีวิตของพืช ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 
                          3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล  สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเพชรบูรณ์  เขต 3 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560  จำนวน  36  คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 เรื่อง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test แบบ dependent
    ผลการวิจัย พบว่า
                          1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้ที่  1  กระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  83.96/83.75  สูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้ 
           2ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  กระบวนการดำรงชีวิตของพืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  หลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ  6.89 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  25.64 
                          3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีความพึงพอใจต่อเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  กระบวนการดำรงชีวิตของพืช ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58 ) 


วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                     รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย 
                               เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                               ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล
ผู้ศึกษา                      นางพรทิพา  เพ็งหมู
ปีการศึกษา                2559


          การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย  คือ1)เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยเทียบเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1ของโรงเรียนชุมชุนบ้านวังพิกุลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2559จำนวน 32 คน 1 ห้องเรียนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ได้แก่  1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 22) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2จำนวน 4 ชุด  3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเป็นแบบเลือกตอบชนิด4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test แบบ Dependent)
             ผลการศึกษาปรากฏ  ดังนี้
               1.  ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีประสิทธิภาพ เท่ากับ85.00/85.63ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
                   2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ภายหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
                  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2อยู่ในระดับมาก(= 4.24, S.D. = 0.16)


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล

บทคัดย่อ
                                                                                                                                                              
ชื่อเรื่อง      รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล
ผู้ศึกษา            นางอำไพ  บุญอ้อย
ปีการศึกษา      2557


                                  การรายงานครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเทียบเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ของโรงเรียนชุมชุนบ้านวังพิกุล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้  ได้แก่  1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร จำนวน 8 เล่ม  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร เป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติทดสอบที (t - test แบบ Dependent)   
                       ผลการศึกษาปรากฏ  ดังนี้
                      1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.51/86.21
สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80
                      2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ภายหลังการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                      3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก ( X= 4.24, S.D. = 0.16)  

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557



ชื่อเรื่อง   การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา    นายนิคม  เพชระบูรณิน 
ปีที่ศึกษา  2557
 
บทคัดย่อ

           การศึกษาฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพ  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนชุมชน
บ้านวังพิกุล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3  ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2557  ภาคเรียนที่  1   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2557  จำนวน  30  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Selection) 
           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1   มี 3  เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน  บรรยากาศและกระบวนการในการดำรงชีวิต แบบทดสอบ แบบปรนัย ชนิด  4  ตัวเลือก  เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน   จำนวน  40  ข้อ  เรื่อง บรรยากาศ
จำนวน  50  ข้อ และเรื่องกระบวนการในการดำรงชีวิต   จำนวน  50  ข้อ   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติ  t – test  (Paired Samples Test)  
           ผลการศึกษาพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์  81.99/80.22   นักเรียนโดยรวมหลังจากเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05    

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานผลการใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะและพลังงานแสง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล


บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง        รายงานผลการใช้ชุดสื่อประสม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  ระบบสุริยะและพลังงานแสง 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล
ผู้ศึกษา         ประชารักษ์   ศรีบรรเทา
ปีการศึกษา     2555

ลักษณะและชนิดของลำต้น

ลักษณะและชนิดของลำต้น2
ชนิดของลำต้น

ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืช

ศึกษาเพิ่มเติม