วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

การเกิดเงา

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉาก
ทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทางเดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น  เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดินของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
               1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
               2. เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท

ลักษณะการเกิดเงามืดและเงามัว
       ขนาดของเงามืดและเงามัวจะขึ้นอยู่กับระยะใกล้ - ไกลของฉาก ถ้าฉากอยู่ใกล้วัตถุเงามืดจะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง ถ้าฉากอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น เงามืดจะมีขนาดเล็กลงและเงามัวจะมีขนาดโตขึ้น ยกเว้นเฉพาะดวงไฟที่มีขนาดโตเท่ากับวัตถุ ซึ่งจะให้เงามืดมีขนาดโตเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ
เพื่อศึกษาการเกิดเงา ทำให้ทราบว่าเงาเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยลองเลื่อนวัตถุทึบแสงไปมาระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับฉาก จะเห็นว่าเกิดเงาบนฉาก และเงาของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อวัตถุอยู่ใกล้ฉาก เงา
จะมีสีดำเข้ม เห็นขอบเงาชัดเจน แต่ถ้าวัตถุอยู่ห่างฉาก ความเข้มเงาจะลดลง เห็นขอบเงาไม่ชัดเจน
ส่วนตรงกลางของเงาจะมืดกว่าส่วนขอบเราจึงสรุปเกี่ยวกับการเกิดเงาได้ว่า
           - เมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุ
           - บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึง เนื่องจากวัตถุทึบแสงกั้นทางเดินของแสง ทำให้เกิดเงาขึ้น 2 แบบ
     1. เงามืด = บริเวณที่แสงส่องไปไม่ถึงเลย

     2. เงามัว = บริเวณที่แสงส่องไปถึงแค่บางส่วน หรือปริมาณของแสงไม่เพียงพอ
          - เงาจะเกิดขึ้นตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสงเสมอ
          - รูปร่างของเงาขึ้นอยู่กับวัตถุที่ทำให้เกิดเงา เช่น ถ้าวัตถุเป็นรูปทรงกลม เงาก็จะเป็นวงกลม
          - วัตถุที่โปร่งแสงจะเกิดเงาที่จางกว่า วัตถุทึบแสง เช่น กระจกฝ้า หรือกระดาษลอกลายมาแทนวัตถุ ทึบแสง โดยนำวัตถุโปร่งแสงดังกล่าวมากั้นแสง เงาที่เกิดขึ้นจะจางกว่าเงาที่เกิดจากวัตถุทึบแสง
          - พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เงาของวัตถุจะทอดไปทิศตะวันตก แสดงว่าเงาจะเกิดขึ้นตรงข้ามกับ แหล่งกำเนิดแสงเสมอ

การเกิดเงาของวัตถุ

          เมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่ทึบแสง จะเกิดเงาที่ด้านหลังวัตถุเสมอ โดยเงาที่เกิดขึ้นอาจจะมีทั้งเงามืดหรือเงามัว จะขึ้นอยู่กับ
          1. ขนาดของแหล่งกำเนิดแสง
                  1.1 แหล่งกำเนิดแสงกว้างน้อยกว่าวัตถุ

                   1.2 แหล่งกำเนิดแสงกว้างมากกว่าวัตถุ
          2. ขนาดของวัตถุ
          3. ระยะห่างระหว่างวัตถุกับแหล่งกำเนิดแสง
          4. การเกิดเงาเมื่อแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุด

ประโยชน์จากเงา เรานำประโยชน์จากเงามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ

      - ใช้ในแง่ให้ความบันเทิง เช่น หนังตะลุง
      - ใช้ในแง่ของการให้ความร่มรื่น เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อช่วยให้เกิดร่มเงา
      - ใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น การบอกเวลา โดยใช้นาฬิกาแดด
นอกจากนี้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่าง เช่น จันทรุปราคา สุริยุปราคา ก็ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเงาอีกด้วย

19 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 ตุลาคม 2555 เวลา 21:10

    ดีจังค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. งงค่ะ

      ลบ
    2. ค่ะ

      ลบ
    3. ้หพเ่รกหผ้เอ่ากดพ้เเเเผเทิผกหดอปกเดอค่ะ

      ลบ
    4. ไปเรียนภาษาไทยไหมนะ

      ลบ
    5. คุณนั้นและ ใหม่ค้าบใหม่

      ลบ
  2. อ่านดีดีสิคะ...งงตรงไหน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2557 เวลา 15:22

      อ่านแล้วเข้าใจงายมาก

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2557 เวลา 15:23

      ไม่งงเลย

      ลบ
    3. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2564 เวลา 12:17

      ทุกตรงค่ะ

      ลบ
    4. ไม่เข้าใจเท่าไร่😋

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2557 เวลา 15:24

    ไอสัตว์ โคตรงงเลย

    ตอบลบ
  4. ชอบมากค่ะไม่งงเลยสนุกดีค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ18 ตุลาคม 2563 เวลา 19:28

    ค่อนข้างเขาใจง่ายครับขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2564 เวลา 21:58

    อยากรู้ค่ะว่ารูปร่างของเงากับรูปร่างของวัตถุด้านที่มากั้นแสงสัมพันธ์กันหรือไม่

    ตอบลบ
  7. เข้าใจกว่าครูที่ร.ร.สอนอีก555

    ตอบลบ
  8. ม่เจ้าไจ้😍😍😍💅🏿💅🏿💅🏿

    ตอบลบ